วัดกลางบางแก้ว
อะ สัง วิ สุโล ปุ สะ พุภะ พุทธะ สังมิ อิสวา สุ
หอไตรวัดกลางบางแก้ว
วัดกลางบางแก้ว
เป็นวัดริมแม่น้ำ  คือ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี  หน้าวัดจึงหันสู่แม่ น้ำตามธรรมเนียมโบราณ  รวมทั้งพระอุโบสถก็หันสู่แม่น้ำ ทำให้อาคารหันไม่ตรงทิศเท่าใด ก็เลยเรียก กันเป็นที่คุ้นเคยว่า ทางด้านแม่น้ำ คือทางตะวันออก หอไตรก็หันด้านหนึ่งสู่แม่น้ำและเรียกขานตามแบบที่ทางวัด กลางบางแก้วเรียกว่า  ตั้งอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตก
หอไตรวัดกลางบางแก้ว
ตั้งอยู่ข้างหอระฆัง  ติดกับด้านหลังของอาคาอนุสาวรีย์  อันเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนหลวงปู่บุญ และหลวงปู่เพิ่มและอยู่ทางด้านหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์สระน้ำที่เป็นที่ตั้งของหอไตรนั้นมีขนาด ไม่ใหญ่นักกว้าง  10.4 เมตร  ยาว 14 เมตรและเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสระที่ขุดขึ้น สำหรับหอไตรโดยเฉพาะ  ผนังทั้งสี่ด้านก่ออิฐกรุแน่นหนาโดยรอบ ไม่เหมือนกับบางแห่งที่มีสระน้ำ ใหญ่  แล้วมีหอไตรตั้งอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสระ  แต่สระนี้มีขนาดรับกันพอดีกับหอไตร  ซึ่งกว้าง 7 เมตร  ยาว 10 เมตรมีรั้วรอบและตัวอาคาร หอไตรตั้งอยู่ตรงกลางพอดี  หอไตรเป็นอาคารทรงไทย  หลังคาเป็นจั่วแหลมชั้นเดียว  มีกันสาดต่อออกไปทั้งสี่ด้าน รอบนอกของอาคาร  กว้าง 5.58 เมตร ยาว 8.72 เมตร มี บัวที่ระดับพื้นและตามแนวเพดาน โดยมีหน้าต่างเป็นบานฝาปะกนสูงจากบัวที่ระดับพื้นจดแนวบัวที่เพดาน  ด้านกว้างเป็นหน้าต่าง 12 บาน  ด้านยาวเป็นหน้าต่าง 19 บาน สำหรับด้านทิศใต้เป็นทางเข้า-ออก หน้าต่างสองบานจึงทำเป็นประตูกว้าง 49 ซม.กว้างกว่าหน้าต่างบานอื่น ซึ่งกว้าง 43 ซม.บ้าง 44 ซม.บ้าง
วัดกลางบางแก้ว
เหตุที่หน้าต่างแต่ละบานมีขนาดแตกต่างกัน  เพราะเป็นหน้าต่างที่ปรับแต่งเพื่อติดตั้งทีละบาน โดยบานหนึ่ง  มีร่องโค้งในแนวขอบที่ประชิดกันและอีกบานหนึ่งแต่งเนื้อไม้เป็นขอบนูนที่ เมื่อประกบกันจะเข้าสนิทในร่องโค้งของอีกบานหนึ่งพอดี  ในการติดตั้งจึงน่าจะต้องเซาะและแต่งหน้าต่างแต่ละบานทีละบาน  เพื่อให้บานที่ประชิดกันนั้นประกบกันได้สนิทตรงหน้าประตู มีชานซึ่งสร้างแยก ออกมา  ไม่มีส่วนใดติดกับตัวหอไตรเพื่อกันมดปลวกเข้าไปยังหอไตร  ดังกล่าวแล้วต่ำกว่าระดับพื้นของหอไตร 40 ซม.ชานนี้กว้าง 2.50 เมตร ยาว 3 เมตร  มีเสา 4 ต้นและมีหลังคาจั่วเล็ก ๆ พร้อมที่นั่งเป็นม้ายาวสำหรับนั่งพักก่อนจะก้าวเข้าหอไตร  มีทางขึ้นเป็นบันได้ 5 ขั้น  มีลูกแก้วเป็นที่ตั้งราวบันไดและมีลูกกรง 5 ลูก  เชื่อมต่อกับขอบสระซึ่งเป็นซีเมนต์โดยรอบ เสาของหอไตรที่ตั้งอยู่ในน้ำ ทางด้านกว้างมีเสา 3 ต้น แบ่งเป็น  2 ห้อง ทางด้านยาวมีเสา 5 ต้น แบ่งเป็น 4 ห้อง มีตงแผ่นใหญ่หนายึดเสาตามแนวยาว บนตงแต่ละเสามีรอดใหญ่หนา  กว้าง 18 ซม.สูง 20 ซม.พาดยาวตรงยอดเสาตลอดแนวกว้าง ระหว่างรอดหนานี้มีรอดบางกว่าอีกแผ่นหนึ่ง ตั้งรองรับพื้นไม้กระดานซึ่งเป็นไม้สักทั้งหมด จากขนาดของไม้เห็นว่าเป็น โครงสร้างที่แข็งแรงมาก  ช่วงล่างต่ำลงไป มีไม้ยึดเสาอยู่อีกชั้น
วัดกลางบางแก้ว
เสาของหอ ไตรที่ตั้งอยู่ในน้ำ  ทางด้านกว้างมีเสา 3 ต้น  แบ่งเป็น 2 ห้อง  ทางด้านยาวมีเสา 5 ต้น  แบ่งเป็น 4 ห้อง มีตงแผ่นใหญ่หนายึดเสาตามแนวยาว  บนตรงแต่ละเสา
มีรอดใหญ่หนา  กว้าง 18 ซม.  สูง 20 ซม.พาดยาวตรงยอดเสาตลอดแนวกว้าง  ระหว่างรอดหนานี้ มี รอดบางกว่าอีกแผ่นหนึ่งตั้งรองรับพื้นไม้กระดานซึ่งเป็นไม้สักทั้งหมด  จากขนาดของไม้เห็นว่าเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงมาก  ช่วงล่างต่ำลงไปมีไม้ยึดเสาอยู่อีกชั้นหนึ่ง  ภายในมีห้องอีกชั้นหนึ่งเป็นห้องสี่เหลี่ยมตรงกลางโดยรอบเป็นทางเดินด้าน ข้างกว้าง  ประมาณ 1.38  เมตร  ด้านสกัดหรือด้านหัวท้ายทางเดิน  กว้าง 1.78 เมตร  ห้องกลางเป็นสองห้องใหญ่ยกพื้นสูงจากระดับพื้นกระดาน 50 ซม. ขอบล่าง  และแนวจรดเพดานเป็นลวดบัว  ผนังเป็นบานประตูสูงจากพื้นจรดเพดาน  สูง  1.93  เมตร  แต่ละบานกว้างไม่เท่ากันมีขนาด 42 ,42.5  และ 43 ซม. ด้านกว้างมี  5 บาน และด้านยาวที่เป็นสองห้อง  มี 11 บาน  โดยบานที่ 6 อยู่ตรงเสากลางพอดี  ลักษณะของอาคารและฝาผนังทั้งหมดเป็นแบบอาคารทรงไทย  คือ ส่วนบนสอบเล็กน้อยเข้าหาแนวกึ่งกลาง  ในแนวยาวของผนังด้านทิศใต้  ตรงกับประตูชั้นนอกเป็นบานประตูหลัก 2 บาน  ซึ่งมีลวดลายแตกต่างจากบานอื่น ๆ  โดยช่องสี่เหลี่ยมสูง  ส่วนบนเป็นภาพเขียนสีฝุ่นเป็นทวารบาลแบบจีน รูปที่บานซ้าย  น่าจะเป็นกวนอู  และบานขวา น่าจะเป็นเตียวหุยมีลักษณะเป็นนักรบมือถือง้าวเป็นอาวุธลายประดับ ในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กส่วนบนและล่างของทวารบาล  เป็นลายจำหลักไม้ปิดทองรูปเสี้ยวกาง  ใต้ลายเสี้ยวกางเป็นช่อสี่เหลี่ยมสูงจำหลักไม้ปิดทองเป็นรูปมังกร  ดั้นเมฆมังกรมี 4 เล็บบานที่ อยู่ถัดจากบานประตูไปทางซ้าย  กรอบบนเป็นรูปเทพนม  หันหน้าเข้าหาประตูหรือหันหน้าไปทางขวากรอบล่างเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา  ทางด้านสกัดหรือด้านทิศตะวันตก 5 บาน  กรอบบนเทพนมหันหน้า ไปทางขวาเช่นกัน  และกรอบล่างเป็นลายพันธุ์พฤกษา  ผนัง ด้านทิศเหนือ 11 บาน  กรอบบนเป็นลายเทพนมที่หันหน้าไปทางซ้ายและกรอบล่างเป็นลายพันธุ์พฤกษาเช่น เดียวกัน  ลายในกรอบล่างนี้  รวมทั้งที่ผนังด้านตะวันตกและด้านใต้  บานที่อยู่ริมตรงเสามุม  เป็นรูปดอกไม้ในแจกันลักษณะคล้ายคลึงกับแจกันแบบที่เรียกว่า  ปูรณฆฏะ  หรือแจกัน  บ่งความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งเป็นเครื่องบูชาที่นิยมกันทั่วไปทั้งในศิลปะไทยและอินเดียผนังด้านทิศตะวันออก
คง เป็นผนังเอกของอาคารนี้กรอบบนคงเป็นรูปเทพนมที่หันหน้าไปทางซ้าย  ส่วนกรอบล่างที่เป็นลวดลายจำหลักไม้ปิดทองนั้น  แตกต่างจากพันธุ์พฤกษาในผนังด้านอื่น  คือที่บานซ้ายสุดและขวาสุดคู่กันเป็นรูปเต่าแบกทรัพย์ศฤงคารอันอุดมสมบูรณ์   คู่ถัดมาเป็นกวาง  และกรอบของบานกลาง  คือรูปช้างที่มีทรัพย์สินมีค่าทั้งสิ้นลาย เทพนมที่เป็นภาพจิตรกรรมไทยสีฝุ่นนี้  มีที่น่าสังเกตและน่าสนใจในทำนองเดียวกันกับลวดลายจำหลักไม้ปิดทองในแต่ละ บาน  ก็มีความแตกต่างที่น่าสนใจเช่นกัน  ดังจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไปนี้

ผนังด้านทิศเหนือ
ผนัง ด้านนี้มีทั้งหมด  11  บาน  ลวดลายและการตกแต่งอยู่ในระเบียบเดียวกันคือ  เทพนมหันหน้าไปทางซ้ายทั้งหมดประทับนั่งบนฐานชุกชีสูงเต็มภาพ  ต่างกับก่อนหน้านี้ที่ฐานเตี้ยและมีรูปกรอบสี่เหลี่ยมรองรับ  และช่องที่  4  ของแต่ละบานก็เป็นลายจำหลักไม้เช่นกัน
เทพนม องค์ที่  1  หันหน้าด้านข้าง  พื้นด้านหน้าเทพนมเป็นธงสามเหลี่ยมชายแหลมก้านธงมีพุ่มประดับ  ยอดธงเป็นตรีศูล  ด้านหลังของเทพนมเป็นพุ่มดอกไม้ลายไทยก้านยาวสูงจดขอบบนเทพนมองค์ที่  2  หันหน้าเสี้ยว  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   3  หันหน้าด้านข้าง  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   4  หันหน้าเสี้ยว  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   5  หันหน้าด้านข้าง  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   6  หันหน้าเสี้ยว  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   7  หันหน้าด้านข้าง  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   8  หันหน้าเสี้ยว  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   9  หันหน้าด้านข้าง  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   10  หันหน้าเสี้ยว  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้เทพนมองค์ที่   11  หันหน้าด้านข้าง  พื้นหลังเป็นรูปธงและพุ่มดอกไม้ลวดลายใน ช่องที่  4  ของบานซึ่งเป็นลวดลายจำหลักไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจกนั้น  บานที่  1  และบานที่  11  เป็นรูปแจกันดอกไม้และมีโต๊ะตั่งเล็ก ๆ  ตั้งผลไม้ปรกอบด้วยส่วนบานที่  8  2  ถึง  10  เป็นลายพันธุ์พฤกษาคล้ายคลึงกัน  แต่ก็แตกต่างจากผนังด้านอื่นและการจัดองค์ประกอบของลายก็เห็นได้ชัดว่าเป็น  2  แบบ

ผนังด้านทิศใต้
เป็น ผนังด้านเดียวกับบานประตู หากนับจากมุมขวามือมีผนัง 2  บาน ถัดไปเป็นประตูคู่หนึ่งและถัดจากประตูไปทางซ้ายเป็นผนังอีก 7 บาน บานที่เป็นฝาผนังลักษณะเป็นบานเฟี้ยม แต่ละบานสูง 1.93 ซม. และมีความกว้างไม่เท่ากัน คือกว้าง 42 ,42.5 และ 43 ซม. ตามลักษณะของการแต่งบานเหล่านี้ทีละบาน เพื่อให้ร่องที่ขอบบานด้านข้างประกบกันสนิท ด้านหน้าของแต่ละบานเป็นลายกรอบกว้างประมาณ 5 ซม. สลักลายดอกไม้ปิดทองล่องชาดประดับ  กระจกเป็นหน้ากระดานตลอดด้าน แล้วจึงแบ่งเป็นช่องๆสำหรับใส่ลายและภาพเป็นระเบียบเดียวกันคือ ช่องบนเป็นกรอบเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน  กว้างเต็มบานสูง 13 ซม.ใส่ลายจำหลักไม้เป็นลายดอกพุดตานปิดทองกรอบช่องที่สอง กว้าง 27 ซม.สูง 58.5 ซม. เซาะร่องไม้กระดานแบบฝาปะกนแผ่นไม้กระดาน กลางกรอบเขียนสีฝุ่นเป็นรูปเทพนมประกอบลวดลาย กรอบช่องที่ 3 เป็นช่องเล็กจำหลักลายดอกไม้เหมือนช่องแรก กรอบช่องที่ 4 เป็นช่องสูงเหมือนช่องที่ 2 ที่เป็นภาพเขียนและมีขนาดเท่ากัน เป็นแบบฝาปะกนเช่นเดียวกัน แต่ตรงส่วนกลางเป็นลายจำหลักไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจก ช่องที่ 5 เป็นช่องเล็กเหมือนช่องที่ 1 และช่องที่ 3 จิตรกรรม รูปเทพนมที่บานของฝาผนังด้านทิศใต้ บานแรกอยู่ที่มุมขวามือเทพนมหันหน้าเข้าหาบานประตู คือหันหน้าไปทางซ้าย การจัดองค์ประกอบเป็นระเบียบเดียวกันของผนังด้านทิศใต้นี้ คือองค์เทพนมประทับนั่งบนฐานลวดลายดอกไม้แบบฐานลวดลายดอกไม้แบบฐานชุกชีสี อ่อนหวาน แต่เป็นฐานเตี้ยจึงตั้งอยู่บนโครงกรอบสี่เหลี่ยม 4 ช่องต่อกันอีกชั้นหนึ่ง จิตรกรรมมีความแตกต่างกัน ดังนี้
เทพนมองค์แรก หันหน้าเสี้ยวเข้าหาประตู  พื้นหลังเป็นลายนกเทพนม องค์ที่สอง หันหน้าด้านข้าง พื้นหน้าเป็นลายมังกรดั้นเมฆ ด้านหลังเทพนมเป็นลายเมฆและมีรูปวงกลมสีเหลืองในหมู่เมฆเหมือนพระจันทร์ อยู่ส่วนบนของภาพมีอักษรจีนในวงกลมสีเหลืองนี้ตัวหนึ่ง ลายจำหลักไม้ในช่องที่ 4 ของบานด้านล่าง บานแรกอยู่มุม จึงเป็นรูปแจกันดอกไม้ประกอบลวดลายจำหลักไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจก ส่วนบานถัดไปเป็นลายพันธุ์พฤกษาผนังทางด้านซ้ายมือของประตูภาพ ที่ผนังบานแรกเป็นเทพนมหันหน้าด้านข้างเข้าหาประตู  หรือหันหน้าไปทางขวาพื้นเป็นลายเมฆ ด้านหน้าของเทพนม ป็นลายมังกรดั้นเมฆด้านหลังมีวงกลมเล็ก ๆ สีเหลืองในหมู่เมฆคล้ายพระจันทร์และมีอักษรจีนอยู่ในพระจันทร์นี้ตัวหนึ่ง คล้ายกันกับที่บานทางขวาของประตู เทพนมองค์ถัดไปเป็นรูปหน้าเสี้ยว หน้าสวยอ่อนหวานเหมือนหน้าสตรี แต่รูปร่างมิได้แสดงว่าเป็นสตรี พื้นภาพเป็นลายไทยเทพนมองค์ที่ 3 เป็นรูปหันหน้าด้านข้าง พื้นลายเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 4  เป็นรูปหน้าเสี้ยว พื้นลายเป็นลายไทยเทพนมองค์ที่ 5 เป็นรูปหน้าด้านข้าง พื้นลายเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 6 เป็นรูปหน้าเสี้ยว พื้นลายเป็นลายไทยเทพนมองค์ที่ 7 เป็นรูปหน้าด้านข้าง พื้นลายเป็นพันธุ์พฤกษา ดอกไม้สวยงามมาก และเป็นบานริมซ้ายของผนังด้านทิศใต้นี้ส่วน ลายในกรอบช่องที่ 4 ซึ่งเป็นช่องสูงเท่า ๆ กันกับภาพจิตรกรรม บานที่ 1 – 5 เป็นรูปดอกพุดตานและเครือเถาสอดร้อยกัน จำหลักไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจกทั้ง 5 บาน นี้ลวดลายคล้ายกันจะแตกต่างก็บานที่ 6 ลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ละเอียดและแน่นขึ้น ตรงกลางของแผ่นลายเป็นรูปแมลงตัวหนึ่ง บานที่ 7 เป็นรูปแจกันดอกไม้ มีรูปดอกไม้ขนาดใหญ่ประกอบลวดลายพันธุ์พฤกษา ทำนองหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือปูรณะฆฏะของอินเดียผนังด้านทิศตะวันออก
ผนัง ด้านนี้มีอยู่ 5 บาน การตกแต่งเป็นระเบียบเดียวกันคือ เทพนมในช่องที่ 2 ของแต่ละบานหันหน้าไปทางซ้ายมือประทับนั่งบนฐานชุกชีเตี้ยและมีชั้นลูกกรง รองรับอีกชั้นหนึ่ง
เทพนมองค์แรก หันหน้าด้านข้าง พื้นหลังเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 2 หันหน้าเสี้ยว พื้นหลังเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 3 หันหน้าด้านข้าง พื้นหลังเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 4 หันหน้าเสี้ยว พื้นหลังเป็นลายพันธุ์พฤกษาเทพนมองค์ที่ 5 หันหน้าด้านข้าง พื้นหลังเป็นลายพันธุ์พฤกษาลวดลายจำหลักไม้ในช่องที่ 4 ของแต่ละบานด้านนี้ ดูมีความแตกต่างและอาจจะเป็นผนังด้านที่เน้นเป็นพิเศษ
บาน แรกเป็นรูปแจกันดอกไม้ตั้งอยู่บนหลังเต่า และเต่าอยู่บนตั่งเล็ก ๆ อีกชั้นหนึ่ง บานถัดไปเป็นรูปแจกันดอกไม้ตั้งอยู่บนหลังกวาง ที่ยืนบนฐานสี่เหลี่ยมลายโชคภาภ  บานกลางเป็นรูปช้างยืนบนฐานโชคลาภ และบนหลังช้างเป็นเหมือนโต๊ะหมู่ที่ประดิษฐานพันธุไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์มี ผลดก

บานที่ 4 เป็นรูปกวางที่บรรทุกความอุดมสมบูรณ์มาเช่นเดียวกัน และหันหน้าเข้าหาช้าง

บานที่ 5 เป็นรูปเต่าที่มีแจกันดอกไม้อยู่บนหลังคล้ายกับบานแรก

ภาย ในหอไตรนี้ แต่เดิมเป็นที่เก็บคัมภีร์และสมุดข่อยของทางวัดบรรจุอยู่ ตู้ลายรถน้ำจำนวน 5 ตู้ และของเก่าบางอย่าง เอาไว้ค่อนข้างหน้าแน่นและไม่เป็นระเบียบ ปัจจุบันทางวัดได้นำคัมภีร์สมุดข่อย และข้าวของต่าง ๆ ไปจัดแสดงไว้อย่างเป็นระเบียบในพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ซึ่งเป็นอาคารใหญ่ทางด้านหน้าของหอไตร ตัวหอไตรปัจจุบันจัดทำความสะอาด เพื่อให้มีสภาพดีที่สุดและมีอายุยืนยาวต่อไปผนังด้านทิศตะวันตก
ผนัง ด้านนี้มีทั้ง 5 บาน ลวดลายและการตกแต่งอยู่ในระเบียบเดียวกัน คือจิตรกรรมในช่องที่ 2 ของแต่ละบาน เป็นภาพเทพนมหันหน้าไปทางขวามือของผู้ดูประทับนั่งบนฐานชุกชีมีลวดลายประกอบ ดอกไม้สีสวยงามชุกชีนี้เตี้ยจึงตั้งอยู่บนคานสีขาวมีลูกกรงเป็นเป็นลูกแก้ว รองรับคานและมีช่องเล็ก ๆ อยู่ที่ส่วนฐานตรงนี้ด้วยช่องที่ 4 เป็นลวดลายจำหลักไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจก ลายละเอียดของภาพบนบานผนังด้านนี้ มีดังนี้

เทพนมองค์แรก หันหน้าด้านข้าง พื้นเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา

เทพนมองค์ที่ 2 หันหน้าเสี้ยว พื้นเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา

เทพนมองค์ที่ 3 หันหน้าด้านข้าง พื้นเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา

เทพนมองค์ที่ 4 หันหน้าเสี้ยว พื้นเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา

เทพนมองค์ที่ 5 หันหน้าด้านข้าง พื้นเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา

ลวดลายจำหลักไม้ในช่องที่ 4 ของแต่ละบาน ทั้ง 5 บานเป็นรูปแจกันดอกไม้ประกอบกับลายพันธุ์พฤกษา ลวดลายปิดทองล่องชาดประดับกระจกและแจกัน มีสิ่งอื่นประกอบเพิ่มความงามมากขึ้น เช่นมีตะกร้า  มีฐานรองรับแจกันเป็นตั่งเล็ก ๆ  หรือเป็นโต๊ะขาสิงห์ด้วย
วัดกลางบางแก้วตำบลนครชัยศรี
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม  ริมแม่น้ำท่าจีน
© 2019 Copyrigth. Watkbk.com All rigths reserved.