วัตถุมงคล
นอกจากเบี้ยแก้แล้ว
แบ่งได้ ดังนี้
ชุดที่ 1 ปี พ.ศ.2534
วัตถุมงคลชุดที่ 1 สร้างเมื่อปี พ.ศ.2534 วัตถุมงคลชุดนี้มีเพียงเหรียญโลหะ รุ่นแรก และเหรียญผงเท่า นั้น เหรียญรุ่นแรกและเหรียญผงนี้ ผู้เขียน ( นายสุธน ศรีหิรัญ ) เป็นผู้สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.2534 โดยเชิญ ช่างโสภณ ศรีรุ่งเรือง หรือ ช่างตุ้ม มานั่งแกะแม่พิมพ์ที่หอพระวัดกลางบางแก้ว โดยนิมนต์หลวงปู่เจือมานั่งเป็นแบบ เรียกว่าแกะกันแบบสด ๆ ไม่ได้ดูภาพถ่าย แต่ดูจากองค์จริงช่างตุ้มบอกว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตและคงครั้งเดียวเท่านั้น ที่แกะแม่พิมพ์ จากการนั่งแกะแบบจากองค์จริงจนเสร็จเรียบร้อย ติ ชมดู กันต่อหน้าหลายสายตาจนเหมือนจริง ใช้เวลาหลายชั่วโมง หลวงปู่เจือ ท่านก็เมตตานั่งเป็นแบบให้จนเสร็จสิ้น ผู้เขียนสร้างถวายฟรีทั้งหมดเพื่อให้หลวงปู่เจือ แจกฟรี ดังนั้น
1. เนื้อโลหะทองคำ ผสมจากชนวนแผ่นยันต์หลายหลวงพ่อรวมทั้งหลวงปู่เจือ ที่จำได้แน่ ๆ สององค์คือ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง และพ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ สร้างทั้งหมดจำนวน 13 เหรียญ
2. เนื้อเงิน ผสมจากชนวนแผ่นยันต์ของหลวงปู่เจือและเกจิอาจารย์อีกหลายองค์หล่อหลอมรีดก่อนปั๊ม จำนวน 100 เหรียญ
3. เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และไม่กะไหล่ทอง หลอมเนื้อจากชนวนก้านช่อพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ และแผ่นยันต์ของหลวงปู่เจือรวมกับแผ่นยันต์ของเกจิอาจารย์มากมายที่ผู้เขียน ไปเขียนเรื่องและไปกราบจำไม่ได้ทั้งหมด อาทิ พ่อท่านคลิ้ง พ่อท่านจันทร์ พ่อท่านแก่น พ่อท่านหนูจันทร์ หลวงพ่อเครื่อง หลวงพ่อทองอยู่ หลวงพ่อแผ่ว หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อเต้า เป็นต้น หล่อหลอมแล้วปั้นเป็นเนื้อทองแดง 2,500 เหรียญ กะไหล่ทอง 2,500 เหรียญ
4. เนื้อผง เหตุที่อยากสร้างเนื้อผงด้วย เพราะตอนเวลาที่ผู้เขียนเดินทางไปเขียนเรื่อง ( ตั้งแต่ปี 2516 ) บ้าง กราบนมัสการพระเถระต่าง ๆ ทั่วประเทศบ้าง ทั้งไปส่วนตัวและเมื่อมีโอกาสไปราชการต่างจังหวัดบ้าง ก็ชอบที่จะขอ ผงวิเศษ จากหลวงพ่อต่าง ๆ มาเก็บไว้มากมายนับร้อยหลวงพ่อ โดยเฉพาะผงของสำนักเขาอ้อ ไม่ว่า อาจารย์เอียด หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ ชานหมากพ่อท่านเขียว พ่อท่านคล้าย ฯลฯ จึงเอาผงเหล่านั้นมารวมกับผงของหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่มแล้ว ให้ช่างถอดพิมพ์จากเหรียญปั๊มเป็นเหรียญเนื้อผงขึ้นมา จำนวน 2,000 องค์
เหรียญ โลหะและผงรุ่นแรกนี้ ผู้เขียนสร้างถวายโดยไม่รับค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วถวายจริง ๆ คือถวายให้ปลุกเสกแล้วถวายเลย ขอกลับมาเพียงเหรียญทองคำเหรียญเดียว และทุกวันนี้ก็มีเพียงเหรียญนี้เหรียญเดียว เหรียญรุ่นแรกนี้ท่านปลุกเดี่ยวอยู่เป็นเวลานานหนึ่งพรรษาเต็ม ๆ เมื่อมีคนรู้ว่าผู้เขียนเป็นคนสร้างถวายก็มาขอแบ่งจากผู้เขียนมากมาย ก็บอกไปเช่นที่เขียนมานี้
หลวงปู่เจือเมื่อรับถวายไปแล้ว ท่านก็แจกฟรีอย่างเดียว ไม่นานก็หมด ยกเว้น เหรียญเนื้อผง ท่านบอกกับผู้เขียนตอนนั้นว่าเอาไว้แจกตอน มรณภาพ แต่ภายหลังมีคนรู้ไปรบเร้าท่านก็เอามาแจกจนหมดเช่นกัน
ชุดที่ 2 พ.ศ.2544
หลังจากชุดที่ 1 เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม จึงได้มีการสร้างมงคลวัตถุชุดที่ 2 มงคลวัตถุชุดที่ 2 นี้เป็นการสร้างในรูปหลวงพ่อโต พระประธานในอุโบสถวัดกลางบางแก้ว เนื่องในโอกาสยกช่อฟ้าอุโบสถวัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2544 มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ
1. พระพิมพ์ขุนแผน หลวงพ่อโต เนื้อผง 5,000 องค์
2. พระพิมพ์นางพญา หลวงพ่อโต เนื้อผง 5,000 องค์
3. พระพิมพ์ขุนแผน หลวงพ่อโต เนื้อสัมฤทธิ์ 1,000 องค์
4. พระพิมพ์นางพญา หลวงพ่อโต เนื้อสัมฤทธิ์ 1,000 องค์
5. แหนบกรรมการ พิมพ์ขุนแผน หลวงพ่อโต เนื้อสัมฤทธิ์กะไหล่ทอง 200 องค์
6. แหนบกรรมการ พิมพ์นางพญา หลวงพ่อโต เนื้อสัมฤทธิ์กะไหล่ทอง 200 องค์
เนื้อผงที่นำมาสร้าง ครั้งนี้นำมาจากรักทอง และปูนปั้นองค์หลวงพ่อโตซึ่งลอกออกมารวมกับผงหลวงปู่บุญ
เนื้อโลหะที่นำมาสร้าง นำมาจากก้านช่อพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ ผสมกับแกนองค์พระหลวงพ่อโต ส่วนที่ชำรุดผสมกันออกมาเป็นเนื้อสัมฤทธิ์
ชุดที่ 3 พ.ศ.2545
ในปี พ.ศ.2545 มีการสร้างมงคลวัตถุมากกว่าปีก่อน ๆ เนื่องจากปีนี้มีการทอดกฐินพระราชทานและการจัดตั้งกองทุนปิยสีโลขึ้นมาด้วย วัตถุมงคลที่สร้างเป็นชุดในชุดนี้ มีดังนี้
1. พระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ สร้างจากตำรับเก่าของหลวงปู่บุญ ทำพิธีลงจารแผ่นยันต์ตามตำรับของหลวงปู่บุญด้วย ตำรานเรศวรปราบหงสาวดี และ ตำราพระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ ทั้งสองตำรับนี้นำเอาแผ่นยันต์ทั้งหมดมาทำพิธีลงจารในอุโบสถวัดกลางบางแก้ว เพื่อนำไปหล่อหลอมสร้างพระกริ่งรุ่นแรก ของท่านคือ กริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ มีทั้งหมด 4 แบบเนื้อทองคำ สร้าง 20 องค์
เนื้อเงิน สร้าง 200 องค์
เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 2,000 องค์
เนื้อชนวน สร้าง 100 องค์
2. เหรียญหล่อ นับเป็นเหรียญหล่อรุ่นแรกนำเอาชนวนจากพระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพมาผสมกับแผ่น ยันต์อีกส่วนหนึ่งมาสร้างขึ้นมีทั้งหมด 4 แบบ คือเนื้อทองคำ สร้าง 15 เหรียญ
เนื้อเงิน สร้าง 100 เหรียญ
เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 1,000 เหรียญ
เนื้อชนวน สร้าง 100 เหรียญ
3. รูปเหมือนเล็ก นับเป็นรุ่นแรกของท่านเช่นเดียวกัน โดยเอาชนวนกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพผสมกับแผ่นยันต์อีกส่วนหนึ่งมาสร้างขึ้น 4 แบบ คือเนื้อทองคำ สร้าง 15 องค์
เนื้อเงิน สร้าง 100 องค์
เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 1,000 องค์
เนื้อชนวน สร้าง 100 องค์
4. พระผงรูปเหมือนสี่เหลี่ยม นั่งเต็มองค์ สร้างจากผงเก่าของหลวงปู่บุญและขมิ้นเสกสมัยหลวงปู่เพิ่ม รวมกับผงจากอุโบสถวัดกลางบางแก้ว ส่วนโลหะได้จากชนวนกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ และแผ่นยันต์อีกส่วนหนึ่งสร้างเป็น 7 แบบ คือเนื้อผงขมิ้นเสก จำนวน 1,000 องค์
เนื้อผงใบลาน จำนวน 1,000 องค์
เนื้อผงเกสร จำนวน 1,000 องค์
เนื้อทองคำ จำนวน 1 องค์
เนื้อเงิน จำนวน 14 องค์
เนื้อสัมฤทธิ์ จำนวน 30 องค์
เนื้อชนวน จำนวน 100 องค์
อนึ่ง ที่เป็นเนื้อโลหะมีตอกเลขทุกองค์
5. รูปหล่อบูชา นับเป็นรูปหล่อบูชารุ่นแรกของท่านสร้างจากชนวนโลหะจำนวนมาก หลวงปู่เจือทำพิธีหล่อด้วยตนเอง มีทั้งหมด 3 ขนาด คือขนาด 9 นิ้ว จำนวน 300 องค์
ขนาด 5 นิ้ว จำนวน 500 องค์
ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 500 องค์
6. พระปิดตาสุริยัน จันทรา พระปิดตารุ่นนี้ถือเป็นพระปิดตารุ่นแรกของหลวงปู่เจือสร้างจากผงพุทธคุณของ หลวงปู่บุญและผงจากอุโบสถวัดกลางบางแก้ว สร้างขึ้นเป็นพระผงเนื้อสีแดง บรรจุไม้มะยมตายพราย เรียกว่า พระปิดตาสุริยัน ส่วนเนื้อผงสีเหลืองบรรจุไม้รากซ้อนชอนไปกับตะวันออก เรียกว่า พระปิดตาจันทรา เพื่อแจกในงานกฐินพระราชทาน มีทั้งหมด 3 แบบ คือเนื้อผงสีแดง สุริยัน สร้างจำนวน 3,000 องค์
เนื้อผงสีเหลือง จันทรา สร้างจำนวน 3,000 องค์
เนื้อผงเกสรเมตตาสีขาว สร้างจำนวน 30,000 องค์ แจกฟรีผู้อ่านนิตยสารลานโพธิ์ ซื้อทุกเล่มได้ทุกท่าน
ชุดที่ 4 พ.ศ.2546
ในปี พ.ศ.2546 วัตถุมงคลของหลวงปู่เจือที่สร้างขึ้นมีเพียงชนิดเดียว คือ พระพิฆเนศวรหล่อด้วยโลหะผสมชนวนพระช่อชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ มีเพียง 3 แบบ คือ
1. แบบบูชาหน้าตัก 5 นิ้ว สร้างจำนวน 500 องค์
2. แบบแขวนคือ เนื้อโลหะผสม จำนวน 2,000 องค์
3. แบบแขวนคือ เนื้อเงิน จำนวน 200 องค์
ชุดที่ 5 พ.ศ.2548 (วันเกิด)
มงคลวัตถุชุดนี้สร้างเป็นพิเศษ เนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบ 80 ปี มีการสร้างมากมายหลายชนิด เป็นการรวบรวมชนวนและแผ่นยันต์ของเก่าที่ตกค้างมาจากการสร้างพระเจ้าสัว ปี พ.ศ.2535 มาทั้งหมดนอกจากนี้ในปีนี้มีการตอกโค้ดที่ห่วงเบี้ยแก้ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สองข้างของห่วงมีโค้ดเป็นรูปตัว นะขึ้นยอด และ จ.จานขึ้นยอด หลังจากงาน 80 ปีแล้ว เบี้ยแก้ ทุกตัวจะตอกโค้ดทั้งหมดไปอีก 18 เดือน จนโค้ดชำรุดหลังจากนั้นจึงไม่ได้ตอกโค้ดอีกต่อไป ฉะนั้นเบี้ยแก้ที่มีโค้ดดังกล่าวจึงเป็นข้อพิจารณาได้ว่าจะออกในช่วงเวลา พ.ศ.2548 2549
วัตถุมงคลชุดนี้ เนื้อโลหะ มีส่วนผสมชนวนผสมเนื้อโลหะทุกพิมพ์ทุกแบบ คือ
- ก้านช่อชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ ปี 2443
- ก้านช่อพระเจ้าสัว ปี พ.ศ.2535
- ก้านช่อพระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ หลวงปู่เจือ
- แผ่นยันต์เก่า หลวงปู่บุญ
- แผ่นยันต์เก่า หลวงปู่เพิ่ม
- แผ่นยันต์จาร หลวงปู่เจือ
- ตะกรุดเก่า หลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม
- ตะกรุดเก่า ไม่ทราบหลวงพ่อจำนวนมาก ดังนี้
1. พระสิวลีชนิดมหาโชคแบบบูชา เนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
2. พระสัจกัจจายน์มหาลาภแบบบูชา เนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
3. พระฤาษีจินดามณีแบบบูชา เนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
4. พระ ยอดธงชัยวัฒน์ ( ถอดแบบจากพิมพ์ชะลูด ) เนื้อทองคำ สร้าง 30 องค์ , เนื้อนาก สร้าง 20 องค์ , เนื้อเงิน สร้าง 300 องค์ , เนื้อนวโลหะ สร้าง 500 องค์ , เนื้อโลหะผสม สร้าง 2,000 องค์
5. พระสิวลี ชนิดแขวนคอ เนื้อนวโลหะ สร้าง 1,000 องค์
6. พระสังกัจจายน์ ชนิดแขวนคอ เนื้อนวโลหะ สร้าง 1,000 องค์
7. พระฤาษีจินดามณี ชนิดแขวนคอ เนื้อนวโลหะ สร้าง 1,000 องค์
8. เหรียญ น้ำมนต์เต็มองค์ เนื้อทองคำ สร้าง 1 องค์ , เนื้อเงิน สร้าง 50 องค์ , เนื้อนวโลหะ สร้าง 500 องค์ , เนื้อโลหะผสม สร้าง 1,000 องค์
9. เหรียญน้ำมนต์ครึ่งองค์ ยันต์ราหูปกป้องกันภัย เนื้อทองคำ สร้าง 1 องค์ , เนื้อเงิน 50 องค์ , เนื้อนวโลหะ สร้าง 500 องค์ , เนื้อโลหะผสม สร้าง 1,000 องค์
10. เหรียญรูปเหมือนเสมาเต็ม องค์ยันต์อธิษฐานสมปรารถนา เนื้อทองคำลงยา ( สีแดง , เขียว , น้ำเงิน ) สร้างสีละ 10 องค์ , เนื้อทองคำ สร้าง 30 องค์ , เนื้อเงินลงยา ( สีแดง , เขียว , น้ำเงิน ) สร้างสีละ 100 องค์ , เนื้อเงินสร้าง 200 องค์ , เนื้อนวโลหะ สร้าง 500 องค์ , เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้าง 500 องค์ , เนื้อทองแดง สร้าง 100 องค์
11. เบี้ยแก้ ( ตอกโค้ด ) ห่วงทองคำ , ห่วงเงิน และห่วงทองแดง
12. เหรียญ ทานบารมี เนื้อทองคำ 5 เหรียญ เนื้อเงิน 20 เหรียญ นวโลหะ 100 เหรียญ ทองแดงกะไหล่ทอง 500 เหรียญ เนื้อโลหะผสม 3,000 เหรียญ
ชุดที่ 6 พ.ศ.2548 ( ไตรมาส )
ในพรรษา พ.ศ.2548 นับเป็นการสร้างวัตถุมงคลชุดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยหลวงปู่เจือได้ปรารภว่าควรสร้างเก็บไว้เพื่อหาทุนบำรุงวัด กรรมการกองทุนปิยสีโลจึงพิจารณาร่วมกันสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ขึ้นในไตรมาส จำนวน 11 แบบ โดยเฉพาะแบบที่เรียกว่า เทพบูชากาพรหม นั้น เป็นการสร้างครั้งแรกของหลวงปู่เจือ ซึ่งท่านเกิดปีฉลูจึงได้สร้าง พกาพรหม ทรงวัว หรือ พระโคศุภราช ขึ้น ท้าวผกาพรหมมีประวัติความเป็นมา ซึ่ง ส.พรายน้อย ได้กรุณาเขียนมาให้หลวงปู่เจือโดยเฉพาะ ดังนี้
หลายสิบปีมาแล้ว มีพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า พระรัตนะ ( หมายความว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ) ออกมาให้เช่าหากันมาก เป็นพระทรงเครื่องหรือทำจีวรเป็นดอกดวง ลงรักปิดทอง เป็นพระปางต่าง ๆ เช่น ปางไสยาสน์ ปางสมาธิ ปางห้ามพระญาติ ปางห้ามสมุทร บ้างก็ทำเป็นพระสังกัจจายน์ ปางฉันภัตตาหาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีปางพิเศษต่าง ๆ ที่นิยมสะสมกันมาก มีอยู่แบบหนึ่งคือ ทำเป็นรูปเทวดาประทับบนหลังวัว และวัวนั้นมีลักษณะต่างกัน เมื่อนำมาวางเรียงกันแล้วเป็นศิลปะที่งดงามน่าชมมาก
นอกจากนั้นเทวดาที่ประทับบนหลังวัวก็นั่งไม่เหมือนกัน และเป็นเทวดาที่แปลกคือ มีถึง 10 กร ถือเทพศัสตราวุธหลายอย่าง มีจักรและพระขรรค์ เป็นต้น
ที่พิสดารแปลกประหลาดก็คือ บนพระเศียรของเทวดา มีพระพุทธรูปยืนอยู่บนพระเศียรก็มี ที่ทำแบบนั่งอยู่เหนือพระนลาฏก็มีเทวรูป แบบนี้มีคนเรียกกันเป็นสองอย่างบ้างก็ว่าเป็นพระอิศวร เพราะประทับบนหลังโค บ้างก็ว่าเป็นพระนารายณ์เพราะถือจักร แต่มีพระกรมากเกินไปไม่ใช่วิสัยของพระนารายณ์ข้างที่ว่าเป็นพระอิศวรดู จะใกล้เคียง เพราะบางปางก็มี 8 กร และมากถึง 10 และมีตำนานเรื่องพระอิศวรเคยประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้ามาครั้งหนึ่งส่วน เทวรูปประทับบนหลังวัวที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น จะเป็นพระอิศวรใช่หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาส่วนประกอบอย่างอื่น ถ้ามีงูเป็นสังวาลณิชพระอิศวร แต่ถ้าไม่ใช่ก็ต้องเป็นเทวดาองค์อื่นซึ่งเคยประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้ามา แล้วเช่นกัน เทวดาองค์นั้นก็คือ ท้าวพาพรหม
แต่แรกเริ่มเดิมทีนั้น ท้าวพกาพรหมมีกำเนิดเป็นพราหมณ์ ต่อมาแลเห็นโทษแห่งการครองเรือนว่ามีแต่ความทุกข์ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงตัดใจออกบวชเป็นดาบส พูดกันในด้านคุณธรรมก็เคยทำประโยชน์ให้แก่สังคมอยู่มาก เช่น มีศรัทธาสร้างลำธารปล่อยน้ำไปเลี้ยงพ่อค้าเกวียน 500 ซึ่งอดน้ำใกล้จะตายให้รอดชีวิตอีกครั้งหนึ่งได้ช่วยขับไล่พวกโจรที่มาปล้น ชาวบ้านให้พ้นจากอันตราย และอีกครั้งหนึ่งพญานาคกำลังจะฆ่าพวกพ่อค้าเรือสำเภาในทะเล ได้ช่วยขับไล่พญานาคให้หนีไป นี่ก็แสดงให้เห็นเมตตาธรรม ปรากฏว่าได้บำเพ็ญตบะจำสำเร็จดุตถฌาน ครั้นตายไปได้อุบัติเกิดเป็นพรหม มีนามว่า ท้าวพกาพรหมขณะเป็นพรหมอยู่นั้นเกิดมีความหลงผิดคิดว่าตนเป็นผู้ที่ล่วงพ้นจากความ ตาย นึกว่าตนอยู่ในแดนอมตะ ไม่มีแก่ ไม่มีตาย ไม่เชื่อในพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ภายใต้ต้นรังใหญ่ ณ ป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐทรงทราบว่าท้าวพกาพรหมมีความเข้าใจผิด คิดว่าพระนิพพานเป็นของไม่จริง ยังหลงผิดอยู่สมควรที่จะประทานพระสัทธรรมโปรด เพื่อจะได้ปล่อยทิฐิอันเป็นโทษนั้นเสีย จึงทรงลุกขึ้นจากที่ประทับ แล้วเสด็จไปยังพรหมโลกโดยเร็ว เมื่อท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงวิมาน จึงทูลอาราธนาให้เสด็จประทับ ณ พระแท่นอันวิจิตรแล้วกล่าวขึ้นด้วยความอหังการว่า ดูกร ท่านผู้ปราศจากทุกข์ ท่านมาที่นี่ก็ดีแล้วจะได้สนทนากัน เพราะข้าพเจ้ามีความเห็นไม่พ้องกับท่านอย่าง คือ ข้าพเจ้าเห็นว่า บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนแต่เป็นของเที่ยงแท้ ไม่มีแก่ ไม่มีตาย ดูแต่พรหมสถานที่ข้าพเจ้าอยู่นี่ก็แล้วกัน มีแต่ความยั่งยืน ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีที่ใดจะเหมือนที่นี้ ที่ท่านว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นภัยนั้นเห็นจะผิด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูกร พกาพรหมท่านนี้อยู่ในพรหมโลกเสียเคย จึงมองไม่เห็นความทุกข์ เพราะโทษที่อยู่ในความสุขความสำราญ ขาดวิจารณญาณเพ่งพินิจ จึงทำให้หลงผิดคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงถาวรตามความจริงนั้นทุกสิ่งไม่มีอะไรแน่นอนเลย ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของเหตุ ทุกสิ่งต้องอยู่ในขอบเขตของกรรมเป็นผู้บันดาล ท้าวพกาพรหมจึงแย้งว่า หามิได้ สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดแต่อำนาจของมหาพรหมสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นฟ้า เป็นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ความร้อน ความหนาว ลม ฝน มหาพรหมเป็นผู้บันดาลขึ้นมาทั้งสิ้น ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่มหาพรหมจะไม่รู้ไม่เห็น ไม่มีใครจะคิดทำซ่อนเร้นให้ลี้ลับจนถึงกับมหาพรหมจับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเห็นท้าวพกาพรหมยังดึงดื้อถือผิดอยู่ จึงตรัสว่า ดูกร พกาพรหม ถ้าท่านยังยืนยันว่าท่านเป็นผู้อุดมสยัมภูญาณยิ่งกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้ง หมด ท่านจงสำแดงฤทธิ์ให้ปรากฏ โดยอันตรธานกายหายไปจากที่นี่ ไปซุกว่อนอยู่ในที่ซึ่งตถาคตไม่สามารถจะรู้เห็นได้เมื่อใด เมื่อนั้นตถาคตจึงจะยอมให้ว่าท่านเป็นสยัมภูผู้ใหญ่ในบัดนี้ ท้าวพกาพรหมต้องการจะสำแดงอิทธิฤทธิ์ให้พระพุทธเจ้าและพรหมทั้งหลายได้ เห็นอยู่แล้ว ก็จัดแจงกำบังกายหายไปจากที่นั้น แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงล่วงรู้บอกตำแหน่งที่อยู่ได้ทุกครั้ง แม้ที่สุดเนรมิตกายจนเล็กที่สุดไปซ่อนอยู่ในระหว่างเม็ดทรายในท้องทะเลลึก พระองค์ก็ตรัสบอกได้อีก ท้าวพกาพรหมเมื่อไม่สามารถจะเอาชนะพระพุทธเจ้าได้ มีความอับอายเป็นอันมาก ได้หลบเข้าไปอยู่ในวิมานของตน แต่ในที่สุดก็ข่มความอายออกมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วตรัสว่า ดูกร พระสมณะ ข้าพเจ้าพยายามที่จะทำตนให้อันตรธานหายไปจากท่าน แต่ก็ไม่อาจจะกระทำได้ บัดนี้ข้าพเจ้าใคร่จะให้ท่านสำแดงฤทธิ์บ้าง พระพุทธเจ้าเมื่อได้ทรงฟังดังนั้นก็ทรงรับว่าจะแสดง จึงทรงกระทำปาฏิหาริย์อันตรธานพระวรกายหายไปในที่เฉพาะหน้าแห่งบรรดาพรหม ทั้งหลายนั้น ไม่มีพรหมองค์ใดจะแลเห็น ได้ฟังแต่พระสุรเสียงตรัสพระธรรมเทศนาในท่ามกลางพรหมบริษัทว่า เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวงหาที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพอะไรเลย ทั้งไม่ยังความเพลิดเพลิดให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้ ท้าวพกาพรหมพยายามใช้กำลังทิพยจักษุและทิพยปัญญาสอดส่องค้นหา จนตลอดโลกธาตุ ก็ไม่อาจจะค้นพระพุทธเจ้าได้ เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นท้าวพกาพรหมจนปัญญาแล้วจึงตรัสว่า ดูกร พกาพรหม เราตถาคตกำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรเกล้าของท่านอยู่ในขณะนี้ เมื่อตรัสดังนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็สำแดงพระวรกายให้ปรากฏแก่พรหมทั้งหลายด้วยพระอิริยาบถเสด็จ จงกรมอยู่บนเศียรของท้าวพกาพรหม พรหมทั้งหลายต่างก็ยกกรประนมมนัสการชื่นชมในอิทธิปาฏิหาริย์ที่สูงกว่า เทพยดาและพรหมทั้งปวง ทำให้ท้าวพกาพรหมอัปยศหมดมานะยอมจำนน และในที่สุดท้าวพกาพรหมเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผลด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้สร้างพระปางโปรดท้าวพกาพรหมขึ้นไว้อีกปางหนึ่งเป็น ปางวิเศษ แต่คนส่วนมากมักเรียกกันว่า ปางซ่อนหา ตามตำนานที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าคิดในเชิงเป็นคติสอนใจปางโปรดท้าวพกาพรหมที่มีพระพุทธรูปยืนอยู่บนพระ เศียร ก็เป็นเครื่องเตือนสติผู้ที่เคารพกราบไหว้ได้เป็นอย่างดี ท้าวพกาพรหมถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในความประมาท หลงผิดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนแต่เป็นของเที่ยงแท้ ไม่มีแก่ ไม่มีตาย แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรคงทนถาวรย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของเหตุ ทุกสิ่งต้องอยู่ในขอบเขตของกรรมเป็นผู้บันดาลพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือความ ประมาทนั้นดุจดังที่ทรงชนะท้าวพกาพรหมนั้นแล
พกาพรหม ผู้เอกอุดมด้วยโชคลาภ
แนวคิดเรื่องนี้ จากการศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม ของ คติพจน์ เหล่ามานะเจริญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรของปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2544 พบว่าในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 4 มีการสร้างประติมากรรมพระพุทธรูป ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากว่า มีการรับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูพราหมณ์ เนื่องจากพระพุทธรูปที่สร้างตามแนวคตินิยมที่สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนหน้า นี้ โดยมีลักษณะเฉพาะทางประติมาณวิทยาระบุได้ว่าเป็นลักษณะของพระอิศวร คือมีรูปบุคคลทรงโคเป็นพาหนะ มีหลายกร และทรงตรีศูลไว้ในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง พระพุทธรูปที่พบประดับอยู่เหนือพระเศียร ส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปปางถวายเนตร แต่ในบางครั้งก็มีการพบพระพุทธรูปปางสมาธิได้เช่นกันคติเรื่องการประลองฤทธานุภาพ โดยการซ่อนกายระหว่างพระพุทธเจ้ากับมหิศรเทพบุตร ( พระศิวะ ) ได้ปรากฏตั้งแต่คัมภีร์โลกศาสตร์ เนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท ที่กำหนดอายุเก่าที่สุดคือ คัมภีร์โลกบัญญัติ อันเป็นคัมภีร์ภาษาบาลีที่แปลเนื้อหาทั้งหมดมาจากคัมภีร์โลกปราชญปติ อันเป็นคัมภีร์ศาสนามหายาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สันสกฤต ดังนั้น เรื่องการประลองพุทธานุภาพน่าจะมีมาก่อนในคติฝ่ายมหายาน อย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.101 ในสมัยอยุธยาได้ปรากฏคติเรื่องนี้อีกครั้งในคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคณฐี เพียงฉบับเดียว ต่อมาในรัชสมัยแห่งพระพุทธยอดฟ้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชดำริให้รวบรวมคัมภีร์โลกศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ต่าง ๆ มาประมวลเป็นคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัย รายละเอียดในคัมภีร์โลกศาสตร์ฉบับดังกล่าว ( คัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคณฐี ) ได้กล่าวถึงคติเรื่องประลองฤทธานุภาพระหว่างพระพุทธเจ้าและมหิศรเทพบุตรไม่ พอใจที่เหล่าเทวดาทั้งหลายไปนบนอบต่อพระพุทธเจ้า จึงท้าประลองฤทธานุภาพด้วยการซ่อนกายกับพระพุทธเจ้า แต่ผลปรากฏว่าเมื่อมหิศรเทพบุตรหายตัว พระพุทธองค์ก็ทรงทราบได้โดยทันทีว่าอยู่ที่ใด ครั้นพระพุทธองค์ซ่อนอยู่ ณ ที่ใกล้พระเนตรของมหิศรเทพบุตรนั่นเอง และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วมหิศรเทพบุตรก็ได้เนรมิตพระพุทธ ประติมาเทินไว้เหนือพระเศียร อันเชิญไปประดิษฐานในพระมหาวิหาร บนเขามันทรคีรี โดยให้หมู่ลิงเป็นผู้ดูแลวิหาร และได้มีเรื่องราวที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นคือ การพรรณนาเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมหิศรเทพบุตรเทินพระพุทธรูปเหนือพระเศียรของ ตน ซึ่งฉากดังกล่าวไม่เคยปรากฏมาก่อนในคัมภีร์ฉบับอื่น ๆ ที่ประพันธ์ก่อนหน้านี้
คติความคิดดังกล่าวน่าจะเป็นความต้องการที่จะ ผนวกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เข้าไว้ในพระพุทธศาสนา มากกว่าจะเป็นการเล่าเรื่องการเทินพระพุทธรูปไว้เหนือพระเศียรของพระอิศวร และลักษณะดังกล่าวนี้จะเห็นปรากฏได้ในภาพลายเส้นและภาพจิตรกรรมในยุคเดียว กัน
พระคาถาสวดบูชาพากาพรหม
ตั้งนะโม 3 จบ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถังพรัหมัง วิสุทธิธุติมัทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะ เทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สวดบูชาแล้วจะทำให้มีญาณ คือ มองเห็นการณ์ไกล รู้ลางบอกเหตุ และประสบด้วยโชคลาภ วาสนา บารมี
มงคลวัตถุที่เป็นเนื้อโลหะที่สร้างในครั้งนี้ ประกอบด้วยโลหะ ส่วนผสมดังนี้
- ก้านช่อพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ ปี 2443
- ก้านพระเจ้าสัว ปี พ.ศ.2535
- ก้านช่อพระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพหลวงปู่เจือ
- แผ่นยันต์เก่า หลวงปู่บุญ
- แผ่นยันต์เก่า หลวงปู่เพิ่ม
- แผ่นยันต์จาร หลวงปู่เจือ
- ตะกรุดเก่าหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม
- ตะกรุดเก่า ไม่ทราบหลวงพ่อจำนวนมาก
วัตถุมงคลที่สร้างในปีนี้ ทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง มีดังต่อไปนี้
1. พระสิวลีชนิดมหาโชค แบบบูชาเนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
2. พระสังกัจจายน์มหาลาภ แบบบูชาเนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
3. พกาพรหม สร้าง 300 องค์
4. พระฤาษีจินดามณี แบบบูชาเนื้อโลหะผสม สร้าง 500 องค์
5. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อทองคำลงยา ( สีแดง , น้ำเงิน ) สร้างสีละ 10 เหรียญ
6. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อเงินลงยา ( สีเหลือง , สีแดง , สีฟ้า , สีน้ำเงิน , สีเขียว ) สร้างสีละ 100 เหรียญ
7. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อเงิน สร้าง 200 เหรียญ
8. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อนวโลหะ สร้าง 500 เหรียญ
9. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อทองแดง สร้าง 2,000 เหรียญ
10. เหรียญพระพุทธชินราชมหามงคล เนื้อโลหะผสม สร้าง 2,000 เหรียญ
11. พระพิมพ์ครึ่งองค์ ยันต์ราหูปกป้องกันภัย เนื้อผงมหาพุทธานุภาพ สร้าง 1,000 องค์
12. พระพิมพ์เต็มองค์ ยันต์อธิษฐานสมปรารถนา เนื้อผงมหาพุทธานุภาพ สร้าง 1,000 องค์
13. พระพิมพ์ครึ่งองค์ ยันต์ราหูปกป้องกันภัย เนื้อดินเผา สร้าง 500 องค์
14. พระพิมพ์เต็มองค์ ยันต์อธิษฐานสมปรารถนา เนื้อดินเผา สร้าง 500 องค์
15. พระพิมพ์รูปเหมือนครอบแก้ว เนื้อผงมหาพุทธานุภาพ สร้าง 2,000 องค์
16. พระพิมพ์สังกัจจายน์มหาลาภ เนื้อผงพุทธานุภาพมหาว่าน สร้าง 2,000 องค์
17. พระพิมพ์นางพญาสะดุ้งกลับร้ายกลายเป็นดี เนื้อผงมหาพุทธานุภาพ สร้าง 2,000 องค์
18. พระพิมพ์นางพญาสดุ้งกลับ เนื้อดินเผา สร้าง 2,000 องค์
19. พระ พิมพ์ปิดตา เนื้อผงพุทธานุภาพมหาว่าน สร้าง 3,000 องค์ เนื้อดินเผา สร้าง 1,000 องค์ เนื้อพุทธคุณ สร้าง 1,000 องค์ เนื้อดินดำ สร้าง 1,000 องค์
ชุดที่ 7 พ.ศ.2549 ( งานวันเกิด )
งานทำบุญครบ 81 ปี ของหลวงปู่เจือได้เตรียมงานไว้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2548 ด้วยการการเตรียมจัดทำมงคลวัตถุชุด จันทร์เพ็ญ มงคลวัตถุชุดนี้ทั้งหมดที่เป็นเนื้อโลหะซึ่งมีทั้งสัมฤทธิ์ เนื้อแร่ เนื้อเมฆสิทธิ์ ได้เตรียมงานไว้ให้หลวงปู่เจือทำพิธีเททองในวันจันทร์เพ็ญ ปี พ.ศ.2548 โดยรวบรวมโลหะชนวนครั้งสำคัญจากก้านชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ และชนวนจากเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ.2535 จำนวนมากมาพร้อมด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาหล่อหลอมรวมกันทำวัตถุมงคลชุดนี้มีทั้งหมด 13 แบบ ดังนี้
1. พระชัยวัฒน์ พิมพ์ต้อ ยอดช่อ สร้าง 50 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 10 องค์ เนื้อแร่ สร้าง 200 องค์ เนื้อโลหะผสม สร้าง 2,000 องค์ ( ข้อ 1 6 แบบและจำนวนสร้างเหมือนกัน )
2. พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสม
3. พระพิมพ์ซุ้มแหลมใหญ่ เนื้อโลหะผสม
4. พระพิมพ์นางพยาสะดุ้งกลับ เนื้อโลหะผสม
5. พระพิมพ์เศียรโล้นสะดุ้งกลับ เนื้อโลหะผสม
6. พระพิมพ์หลวงพ่อเจือ ( จอบ ) เนื้อโลหะผสม
7. พระปิดตายันต์ยุ่ง สร้างยอดช่อ 50 องค์ เนื้อโลหะผสม สร้าง 1,000 องค์
8. พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อแร่ สร้าง 200 องค์
9. พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อเมฆสิทธิ์ สร้าง 500 องค์
10. พระขุนแผน เนื้อดินเผา สร้าง 5,000 องค์
11. พระขุนแผน เคลือบสีเขียว สร้าง 1,000 องค์
12. พระขุนแผน เคลือบสีเหลือง สร้าง 1,000 องค์
13. พระขุนแผน เคลือบสีฟ้า สร้าง 1,000 องค์
14. พระขุนแผน เคลือบสังคโลก สร้าง 1,000 องค์
15. พระปรกใบมะขาม เนื้อทองคำ 5 องค์ เนื้อเงิน 50 องค์ เนื้อทองแดง 2,000 องค์ เนื้อนวโลหะ สร้าง 100 องค์
อนึ่ง ในงานทำบุญวันเกิดปีนี้ หลวงปู่เจือแจกพระขุนแผน เนื้อดินเผา และพระปรกใบมะขาม เนื้อทองแดง ฟรี แก่ผู้ไปร่วมงานทุกคน
ชุดที่ 8 พ.ศ.2549 ( ไตรมาส )
มงคลวัตถุชุดนี้สร้างในพรรษา ปี พ.ศ.2549 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องรางของขลัง มีแบบต่าง ๆ 8 แบบ คือ
1. ตะกรุดพระพุทธมหาบารมี 4 ชนิด คือ
ตะกรุดทองแดง จำนวน 1,000 ดอก
ตะกรุดทองทิพย์ จำนวน 1,000 ดอก
ตะกรุดตะกั่ว จำนวน 1,000 ดอก
ตะกรุดเงิน จำนวน 500 ดอก
2. ผ้ายันต์ 4 ชนิด คือ
ยันต์พระพุทธวิถีนายกป้องปกกันป้องปกกันภัยอันตราย สร้าง 4 สี คือ สีเขียว สีม่วง สีเหลือง และสีฟ้า สีละ 1,000 ผืน
ผ้ายันต์สีหราชคำรณ สร้าง 2 สี คือ น้ำตาล และแดง สีละ 1,000 ผืน
ผ้ายันต์เจ้าสัวทรัพย์มหาศาล สีแดง สร้าง 1,000 ผืน
ผ้ายันต์พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ สีเหลือง สร้าง 1,000 ผืน
ผ้ายันต์เศรษฐีโภคสมบัติ สีชมพู สร้าง 1,000 ผืน
3. รูปถ่าย 4 ชนิด คือ
นั่งเต็มองค์สะดุ้งกลับ หลังยันต์เมตตามหาราช สร้าง 1,000 รูป
นั่งเต็มองค์สะดุ้งมาร หลังยันต์พระพุทธเจ้าป้องไตรจักร สร้าง 1,000 รูป
นั่งเก้าอี้ หลังยันต์มหามงคลคุ้มจักรวาล สร้าง 1,000 รูป
ครึ่งองค์ หลังยันต์มหาเศรษฐี มั่ง มี ศรี สุข สร้าง 1,000 รูป
4. ท้าวเวสสุวัณ ขนาดสูง 5 นิ้ว สร้าง 500 องค์
5. ล็อกเกตฉากทอง 4 ขนาด
ขนาดเล็ก จำนวน 300 อัน
ขนาดกลาง จำนวน 300 อัน
ขนาดใหญ่ จำนวน 300 อัน
ขนาดจัมโบ้ จำนวน 100 อัน
6. มีดหมอฝัก ด้ามงา ใช้แกนเหล็กพระพุทธรูปในโบสถ์เก่ามารีดตีเป็นใบมีด จำนวน 1,000 เล่ม
7. พระไม้แกะจากไม้มะยมตายพรายมี 3 ชนิด
พระปิดตา จำนวน 100 องค์
นางกวัก จำนวน 100 องค์
พระรอด จำนวน 100 องค์
ชุดที่ 9 พ.ศ.2550 ( วันเกิด )
มงคลวัตถุชุดนี้สร้างขึ้น 2 แบบ คือ จากเนื้อยาวาสนาจินดามณีจากพิธีเมื่อคราวพระหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาเสด็จมาเป็นประธานปั้นและปรุงยา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2549
พระชุดยาวาสนาจินดามณีชุดนี้สร้างขึ้นจำนวน 14 พิมพ์ ( ดูในตอน ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ )
สำหรับ เนื้อโลหะ นั้นได้สร้างพิมพ์นางพญาสะดุ้ง ย้อนยุค ถอดแบบจากองค์นางสะดุ้งกลับ แชมป์ ของ คุณสมศักดิ์ เดชกำแหง ( หลังจากถอดแบบแล้วก็ต้องเสียแชมป์ไป เพราะผิวพระเสียเกือบหมด ) แยกได้เป็น 5 เนื้อ คือ
1. เนื้อทองคำ สร้าง 22 องค์
2. เนื้อนาก สร้าง 10 องค์
3. เนื้อเงิน สร้าง 1,200 องค์
4. เนื้อนวโลหะ สร้าง 2,000 องค์
5. เนื้อทองทิพย์หล่อโบราณ สร้าง 3,900 องค์
เนื้อโลหะชนิดปั๊ม ในปีนี้ได้จัดสร้างพิมพ์ปิดตา เงินไหลนอง ทองไหลมา เป็นเนื้อโลหะ จำนวน 5 ชนิด คือ
1. เนื้อทองคำ สร้าง 10 องค์
2. เนื้อเงิน สร้าง 100 องค์
3. เนื้อนาก สร้าง 1 องค์
4. เนื้อนวโลหะ สร้าง 1,000 องค์
5. เนื้อทองแดง สร้าง 3,000 องค์
ส่วน เนื้อผง ในชุดนี้สร้างเป็นพิมพ์ปิดตา 3 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ปิดตา เงินไหลนอง ทองไหลมา
- เนื้อยาวาสนาจินดามณี 500 องค์
- เนื้อสีดำ สร้าง 3,000 องค์
- เนื้อขมิ้นเสก สร้าง 3,000 องค์
- เนื้อผงหลวงปู่บุญผสมผงปูนจากการลอกองค์หลวงพ่อโต แจกฟรีในงาน สร้าง 10,000 องค์
- เนื้อผงหลวงปู่บุญผสมผงปูนหลวงพ่อโตและมหาว่านโชคลาภ ฯลฯ สำหรับแจกผู้อ่านนิตยสารลานโพธิ์ 30,000 องค์
2. พิมพ์ปิดตา เมตตามหาลาภ
- เนื้อยาวาสนาจินดามณี 1,000 องค์
- เนื้อสีดำ สร้าง 3,000 องค์
- เนื้อขมิ้นเสก สร้าง 13,000 องค์